สายมูห้ามพลาด ปีนี้ต้องเฮง ต้องปัง เสริมสิริมงคลกัน จะพาทุกคนไปทำบุญ 9 วัด เราจึงได้เลือกวัดเก่าแก่ มีความขลัง สวยงาม สามารถไปทั้งทำบุญไหว้พระ เสริมความเป็นสิริมงคงให้กับชีวิต รับรองว่าบุญหล่นทับ ทันใช้ในปี 2568 นี้อย่างแน่นอน

  • วัดพะโคะ
  • วัดต้นเลียบ
  • วัดดีหลวง
  • วัดชะแม
  • วัดศิลาลอย
  • วัดท่าคุระ
  • วัดนางเหล้า
  • วัดจะทิ้งพระ
  • สำนักสงฆ์นาเปล

วัดพะโคะ เสริมดวงด้าน มงคลชีวิต ด้านความเจริญรุ่งเรือง
วัดพะโคะ หรือ วัดราชประดิษฐาน ตั้งอยู่บนเขาพะโคะ หรือเขาพัทธสิงค์ หมู่ที่ 6 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นวัดที่มีความสำคัญมาทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีศาสนา เป็นที่ประดิษฐานพระเมาลักเจดีย์ ซึ่งเป็นศิลปะสถาปัตยกรรมทางใต้ สมัยกรุงศรีอยุธยา แบบอย่างศิลปะลังกา และเกี่ยวข้องกับตำนานหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ตามพงศาวดาร เล่ากันว่า วันหนึ่งมีโจรสลัดแล่นเรือเลียบมาตามฝั่ง เห็นสมเด็จพะโคะเดินอยู่มีลักษณะแปลกกว่าคนทั้งหลายจึงใคร่จะลองดี โจรสลัดจอดเรือและจับสมเด็จพะโคะไป เมื่อเรือแล่นมาได้สักครู่เกิดเหตุเรือแล่นต่อไปไม่ได้ ต้องจอดอยู่หลายวัน จนในที่สุดน้ำจืดหมดลงโจรสลัดเดือดร้อน สมเด็จพะโคะสงสาร จึงเอาเท้าซ้ายแช่ลงไปในน้ำทะเลเกิดเป็นประกายโชติช่วง น้ำทะเลกลายเป็นน้ำจืด โจรสลัดเกิดความเลื่อมใสศรัทธากราบไหว้ขอขมา และนำสมเด็จพะโคะขึ้นฝั่ง ตั้งแต่นั้นมาประชาชนจึงพากันไปกราบไหว้บูชากันเป็นจำนวนมาก

วัดต้นเลียบ เสริมดวงด้าน รากฐานมั่นคงในชีวิต
วัดต้นเลียบ เป็นปูชนียสถานที่ฝังรกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด (บ้านเกิดและสานที่ฝังรกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด) ตำนานที่มีหลักฐานปรากฏจริงบนคาบสมุทรสทิงพระ วัดต้นเลียบมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ในตระกูลเดียวกับต้นโพธิ์ วัดขนาดลำต้นโดยรอบแล้วลำต้นประมาณ 21 เมตร เป็นต้นไม่ที่มีอายุยืนยาวมานานแต่อดีตกาลนับได้ 500 กว่าปี ปัจจุบันนี้ยืนเด่นตระหง่าน แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาและความร่มรื่นอยู่ในวัดต้นเลียบ ซึ่งถือกันว่าเป็นต้นไม่ที่มีความศักดิ์สิทธ์ในแบภูมิภาคนี้ ไม่มีผู้ใดกล้าจะลบหลู่ เป็นต้นไม้ที่สำคัญในตำนานเกี่ยวกับหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ตามประวัติเล่ากันว่า เมื่อประมาณ 400 ปีที่ผ่านมามีครอบครัวคนยากจนคู่หนึ่ง มีนามว่า นายหูและนางจันทร์ เป็นทาสในเรือนของเศรษฐีปาน ได้ให้กำเนิดบุตรชาย เมื่อวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง ช่วงประมาณปี พ.ศ.2123 นายหูได้นำรกของลูกมาฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ แล้วกลับมาที่บ้านเห็นอาการลูกชาย คืบคลานว่องไวเช่นจับปูใส่กระด้งจึงได้ตั้งชื่อว่า“เด็กชายปู” ปัจจุบันนี้ก็คือ วัดต้นเลียบ สถานที่แห่งนี้หากได้มากราบไหว้สักการบูชาจะช่วยเสริมสร้างบุญบารมีและเป็นมงคลแห่งชีวิต ในด้าน “ชีวิตมีรากฐานมั่นคง” ภายในวัดแห่งนี้ยังมีศาลาที่ประดิษฐานของหลสงปู่ทวดองใหญ่ที่มีความสวยงาม หากต้องการจะให้ชีวิตอยู่เย็นเป็นสุข ต้องมาที่ศาลาแห่งนี้และกราบสักการะหลวงปู่ทวด

วัดดีหลวง เสริมดวงด้าน การเรียน การงาน การเงิน

วัดดีหลวง เป็นวัดที่หลวงปู่ทวดเคยบวชเป็นสามเณร ถือได้ว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในคาบสมุทรสทิงพระ เป็นวัดสำคัญอีกวัดหนึ่งในคาบสมุทรสทิงพระ ที่มีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวด และเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองด้านสถาปัตยกรรม เป็นสำนักเรียนใหญ่มาแต่โบราณ ปรากฏหลักฐานเล่าสืบต่อกันมาว่า วัดดีหลวง เป็นวัดที่เด็กชายปูเคยมาอาศัยกับสมภารจวง ซึ่งเป็นหลวงลุง เมื่ออยุได้ 14 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร และศึกษาวิชาต่างๆ ในวัดจนหมดสิ้น และได้ไปเรียนต่อที่ – ยัง และได้ศึกษาต่อไปจนถึงกรุงศรีอยุธยาตามลำดับ

วัดชะแม เสริมดวงด้าน มงคลชีวิต อำนาจบารมี

วัดชะแม บ้านชะแมเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยต้นๆ มีหลักฐานการเล่าตำนานเจ้าแม่อยู่หัว เมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา มีพระหน่อโอรสของเจ้าเมืองใด และได้พลัดพรากจากพระราชาและพระราชินิ น่าจะเป็นพระเจ้ารามสุริยวงศ์ และพระนางปทุมรัตน์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเมืองหนึ่ง และได้มาอาศัยอยู่กับตายาย ชื่อตาพรหม ยายจัน และได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี เป็นที่รักใคร่แก่ผู้พบเห็นและบุคคลทั่วไป เนื่องจากเป็นเด็กมีอัธยาศัยดี พูดจาไพเราะอ่อนหวาน บางคนเดือดเนื้อร้อนใจ เจ็บไข้ได้ป่วย มีความทุกข์ มีโอกาสพูดคุยกับพระหน่อตามอัธยาศัย ก็สามารถหายไข้คลายทุกข์ได้ บางคนปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้อธิษฐานบนบานก็ได้ผลสำเร็จ ทำให้มีประชาชนทั่วไปต่างให้ความเคารพ ต่อมาเมื่อทราบถึงพระราชา และพระราชินี ก็ได้มารับพระหน่อกลับพระราชวัง ระหว่างทางได้สร้างพลับพลาพระราชินีก็ได้ทรงขออนุญาตต่อพระเจ้าอยู่หัวสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นกุศลและมอบให้ชาวบ้านละแวกนั้นที่จงรักภักดีต่อพระหน่อชื่อว่า วัดเจ้าแม่ ต่อมาเพี้ยนเป็นวัดชะแม และเลื่อนไปทางทิศเหนือ ส่วนวัดเจ้าแม่เก่าปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนบ้านชะแม ตำบลดีหลวง มีต้นโพธิ์เป็นหลักฐาน บางคนมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ ก็ได้ไปบนบาลศาลกล่าวที่ต้นโพธิ์ ตามหลักฐานในพงศาวดารเมืองพัทลุงว่า ในสมัยออกขุนเทพตำรวจเป็นเจ้าเมืองพัทลุง (อำเภอสทิงพระ) มีผู้ศรัทธราสร้างเจดีย์วิหารหลายวัด หนึ่งในนั้น พระครูพิชัย ได้สร้างพระวิหารวัดชะแม

วัดศิลาลอย เสริมดวงด้านกำราบอุปสรรคให้เบาบางลง

วัดศิลาลอย วัดศิลาลอยสร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๓๐๐ เดิมมีนามว่า “วัดยางงาม” ต่อมาได้มีระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยหินถูกคลื่นซัดมาจากเกาะกระในทะเลอ่าวไทย ลอยมาเกยตื้นชายทะเล ชาวบ้านได้ช่วยกันลากเพื่อนำไปประดิษฐาน ณ วัดชุมพล แต่ลากไม่ไปตกกลางคืนพระพุทธรูปได้มาเข้าฝันชาวบ้านว่าต้องการอยู่ที่วัดยางงาม ซึ่งสมัยนั้นเป็นวัดร้าง ชาวบ้านจึงนำพระพุทธรูปมาประดิษฐานไว้ ต่อมาได้บูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่

วัดท่าคุระ เสริมดวงด้านทรัพย์สินเงินทอง
วัดท่าคุระ หรือวัดเจ้าแม่อยู่หัว คือ พระพุทธรูปทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 2 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.5 เซนติเมตร สร้างขึ้นแทนตัวบุคคลที่ชาวบ้านท่าคุระ ต.คลองรี อ.สทิงพระ จ.สงขลา หรือบุคคลทั่วไปให้ความเคารพนับถือเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว และตกทอดมาให้คนรุ่นหลังได้เคารพบูชา รวมทั้งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้ลูกหลานเกิดความรัก ความสามัคคีสืบมา เมื่อถึงวันพุธแรก ข้างแรม เดือน 6 ผู้ที่ศรัทธาในเจ้าแม่อยู่หัว ก็จะไปร่วม สมโภชสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัว ซึ่งเป็นพันธะของลูกหลานในท้องถิ่น ที่ปฏิบัติต่อ ๆ กันมาในทุกปี

วัดนางเหล้า เสริมดวงด้านความยิ่งใหญ่
วัดนางเหล้า หรือนางลาว ตั้งอยู่บ้านนางเหล้า ถนนเขาแดง-ระโนด หมู่ที่ 3 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา บนเนื้อที่ 18 ไร่ มีกำแพงวัดทั้ง 4 ด้านเป็นอาณาเขต ซึ่งวัดนางเหล้าหรือวัดนางลาวสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ปี 2225 โดยมีอุบาสิกาชื่อนางลาว มีจิตศัทธาบริจาคที่ดินและสร้างวัด แต่เดิมชื่อวัดนางลาว ตามชื่อผู้บริจาคที่ดินและสร้างวัด ต่อมาชาวบ้านเรียกชื่อเพี้ยนไปเป็นวัดนางเหล้า จากนั้นปี พ.ศ.2538 ได้มีการขออนุญาตต่อกรมการศาสนาขอเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า วัดลาวัณย์วราราม (มีความหมายว่าวัดมีความงามอันยอดเยี่ยม) แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามที่เสนอขอเปลี่ยนชื่อวัด

วัดจะทิ้งพระ วัดเก่าแก่ประจำเมืองสทิงพระปุระพาลาณศรี

วัดจะทิ้งพระตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นวัดคู่เมืองสทิงพระ มาแต่โบราณ เดิมเรียกว่า “วัดสทิงพระ” ต่อมาได้มีการเรียกชื่อเพี้ยนเป็น “วัดจะทิ้งพระ”ตามตำนาน นางเลือดขาวกล่าวว่า เจ้าพระยากรุงทองเจ้าเมืองสทิงพาราณสี เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้น และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ ในสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ วัดจะทิ้งพระห่างจากที่ว่าการอำเภอสทิงพระประมาณ 200 เมตร ภายในวัด มีโบราณสถาน ซึ่งเป็นศิลปะสมัยศรีวิชัยที่น่าสนใจ เช่น เจดีย์พระมหาธาตุ หอระฆังโบราณ วิหารพระพุทธไสยาสน์ ที่ภายในวิหารมีภาพวาดฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติที่ยังคงความสมบูรณ์อยู่มาก วัดจะทิ้งพระ จะมีงานสมโภชน์พระพุทธไสยาสน์และพระเจดีย์ เป็นประจำปีทุกปี ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6

สำนักสงฆ์นาเปล เสริมดวงด้านสุขภาพแข็งแรง เลี้ยงลูกง่าย

สำนักสงฆ์นาเปล เป็นบริเวณสถานที่นาของเศรษฐีปานให้นายหูและนางจันทร์ไปเกี่ยวข้าว ทั้งคู่จึงได้นำผ้ามาผูกไว้กับต้นมะเม่าเพื่อให้ “เด็กชายปู” บุตรชายได้นอนแล้วลงไปทำนา เมื่อประมาณยามบ่ายได้มาดูลูกพบว่ามี “งูบองหลา” (งูจงอาง) กำลังขดพันรัดอยู่รอบๆ เปล ทำให้นางจันทร์ตกใจมากจึงได้ร้องเรียกให้นายหูและเพื่อนบ้านมาช่วยกันไล่งู แต่ไม่มีใครกล้า ทั้งคู่จึงตั้งจิตอธิษฐานขออย่าให้งูตัวนั้นทำร้ายบุตรชายที่นอนอยู่ในเปล สิ้นคำอธิษฐานงูจงอางตัวนั้นก็ค่อยๆ คลายขดออกก่อนจะเลื้อยหายไป นางจันทร์ก็เข้าไปดูลูกชายพบว่ามีเมือกปรากฏอยู่บนอกของเด็กชายปู ซึ่งคาดว่าเป็นน้ำลายงู นางจันทร์เอามือไปปัดป้องจึงได้ทราบว่าเมือกใสนั้นเป็นดวงแก้ว จึงได้เก็บรักษาไว้เป็นของวิเศษคู่บารมีเด็กชายปู เมื่อเจริญวัยขึ้นได้สร้างคุณูปการหลายอย่างจนเป็นที่รู้จักในนาม “สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด”

Write A Comment